Thailand
28/5/2024
เพจ เจาะเวลาหาอดีต นำเสนอว่า วัยเยาว์ของ อ.ถวัลย์ ดัชนีย์
ถวัลย์ ดัชนี มีแววเก่งวาดรูปมาตั้งแต่อายุ ๔ ขวบ
กันยายน ๒๔๘๒ ทารกน้อยนามถวัลย์ ดัชนี ได้ลืมตาขึ้นมาดูโลกที่จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่สูงสุดของประเทศไทย
ถวัลย์ยังกับรู้ว่า เมืองเชียงรายคือเมืองศิลปิน จึงเลือกเกิดที่เมืองนี้
ถวัลย์มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันสามคน ถวัลย์ เป็นคนสุดท้อง มีพ่อเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต
เมื่อพ่อเป็นข้าราชการ จึงถือว่าอยู่ในครอบครัว ที่สูงกว่าระดับชาวบ้านทั่วไป
ถวัลย์เป็นคนหัวโตมาตั้งแต่เกิด เป็นเด็กหัวโต ที่มีมันสมองอยู่ภายในเต็มเอี๊ยด จึงทำให้เป็นคนฉลาด
เรียนเก่ง ทำอะไรก็เก่งไปหมด โดยเฉพาะการวาดรูป ถวัลย์ไม่ได้วาดรูปเก่งอย่างเดียว ยังเป็นนัก บาสเกตบอลของโรงเรียนด้วย ตอนเป็นนักบาส ถวัลย์ ชู้ดห่วงได้แม่นยำ เพราะมีสมาธิดีมาตั้งแต่เด็ก
ถวัลย์มีแววเป็นนักวาดรูปตั้งแต่อายุ 4 ขวบ มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า
ถวัลย์ในวัย 4 ขวบตามแม่ไปฟังพระเทศน์ที่ วัด ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หลังจากพระ เทศน์จบลง ถวัลย์ได้หายตัวไป แม่เป็นห่วงลูก จึง รีบออกจากศาลาฟังเทศน์เพื่อไปตามหาลูก ต้อง
ตามหาอยู่นานจึงไปพบว่าถวัลย์กำลังใช้แท่งถ่านที่ เก็บมาจากการหุงข้าวขีดเขียนกำแพงวัดอย่างเพลิด เพลิน จนกำแพงที่มีสีสะอาดได้กลายเป็นจิตรกรรม ฝาผนังของจิตรกรรุ่นเยาว์ไปโดยปริยาย
แม่มองว่าลูกทำให้กำแพงวัดสกปรกเสียหายจึง ใช้มือตีลูกเพื่อเป็นการสั่งสอน ทำให้ลูกต้องตกใจ สะอื้นไห้
ขณะนั้นได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่งเดินผ่านมาพอดี จึงได้หยุดถามว่ามีอะไรเกิดขึ้น เมื่อรู้เรื่องแล้วจึงพูด กับแม่เป็นภาษาเหนือว่า
“จ่างมันเตอะโยม ละอ่อนมันคงบ่รู้อะหยัง บ่แน่วันหน้ามันอาจลุกเป็นนักวาดเขียนเอกของโลก ก็ได้”
แปลเป็นภาษากลางได้ว่าช่างมันเถอะโยม เด็ก คงไม่รู้อะไร ไม่ต้องลงโทษมันหรอก ไม่แน่อนาคต ข้างหน้ามันอาจเป็นจิตรกรเอกของโลกก็ได้
น่าเสียดายที่เป็นการวาดด้วยแท่งถ่าน ปัจจุบัน จึงไม่มีร่องรอยให้เห็น เวลาผ่านมากว่า ๖๐ ปีแล้ว รูป วาดได้จางหายไปหมดแล้ว
ถวัลย์เรียนหนังสือระดับประถมที่โรงเรียน เชียงรายพิทยาคม
ต่อมาผู้เป็นพ่อได้ย้ายไปปฏิบัติงานสรรพสามิต ที่อำเภอเมืองพะเยา (ปัจจุบันยกฐานะเป็นจังหวัด พะเยา)
พ่อได้หอบหิ้วพาถวัลย์ไปเรียนต่อชั้นประถมที่ โรงเรียนบุญนิธิ ซึ่งตั้งอยู่ริมชายกว๊านพะเยา แล้วย้าย ไปเรียนต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เมื่อพ่อย้ายกลับเชียงรายจึงเข้าเรียนที่โรงเรียน สามัคคีวิทยาคม จนเรียนจบชั้นมัธยม ๖ (สมัยนี้คือ ม.ศ. ๓)
ครูสอนศิลปะหรือสอนวาดเขียนคนแรกของ ถวัลย์ก็คือครูแสน สุวรรณ ตอนข้าพเจ้าไปที่เชียงราย เมื่อต้นปีนี้เอง ฉลอง พินิจสุวรรณ ศิลปินรุ่นน้อง ของถวัลย์ได้พาข้าพเจ้าให้ไปพบกับครูแสนถึงบ้านพัก เมื่อรู้ว่าข้าพเจ้าอยากไปพบกับครูเก่าและอยากเห็น โรงเรียนเก่าของถวัลย์
ครูแสนในวันที่ข้าพเจ้าไปพบนั้นอายุ ๘๔ ปีแล้ว แต่ยังมีรูปร่างดี หน้าตาหนุ่มกว่าวัย ท่านเล่า ถึงถวัลย์ในสมัยเด็กให้ข้าพเจ้าฟังคร่าวๆ ว่า
“ถวัลย์มีพรสวรรค์เป็นพิเศษสามารถวาดรูปได้ดีตั้งแต่ยังเป็นเด็ก”
ขณะเรียนอยู่ชั้นประถม อายุแค่ ๘-๙ ขวบ ถวัลย์สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้ทุกตัว ทั้งๆ ที่แต่ละตัวมีรายละเอียด ถ้าวาดไม่เก่งจริงจะวาดยาก ถวัลย์เป็นเด็กอ่อนน้อมถ่อมตน พูดเก่ง เรียน เก่ง
บ้านของถวัลย์อยู่ใกล้กับโรงเรียน ถวัลย์ชอบ ถือหนังสติ๊กมาตั้งแต่เด็กเพื่อมายิงนกเล่นตามประสา เด็กสมัยนั้น ที่ไม่ค่อยมีอะไรจะเล่นเหมือนสมัยนี้
ถวัลย์ยิงนกแม่นมาก ถ้าจะยิงนกแบบให้มัน เกาะอยู่เฉยๆ ถวัลย์บอกว่าเป็นการเอาเปรียบนกมาก เกินไป ถวัลย์จึงใช้วิธีไล่ให้นกบินขึ้นฟ้า แล้วถึงจะใช้ หนังสติ๊กยิง
ถวัลย์ชอบยิงแต่นกเท่านั้นโดยไม่ยอมยิงกิ้งก่า ที่ไม่ยิงกิ้งก่า ถวัลย์ให้เหตุผลว่า ยิงกิ้งก่าไม่ลง เพราะมันชอบคำนับให้
ถวัลย์เป็นเด็กมีน้ำใจชอบช่วยเหลือเพื่อนๆ ใน ห้องเรียนเกี่ยวกับวิชาวาดเขียนเสมอ บางครั้งก็ช่วย วาดให้เลย บางวันถวัลย์จะไปวาดภาพทุ่งนา ภูเขา ดอยหลวง ถวัลย์ถนัดสเก็ตช์ภาพได้ทุกอย่าง ปั้นก็เป็น เคยปั้นพระแล้วไปหลอกเพื่อนว่าเป็นพระเก่า เพื่อน ก็เชื่อ เพราะปั้นได้เหมือนของเก่า
ถวัลย์เคยใช้ดินเหนียวปากระดานดำแล้วเข้าไป ปั้นรูป ชอบทำอะไรแปลกๆ
เนื่องจากครูแสนมีงานต้องทำนอกเหนือจาก งานสอนวาดเขียน เช่น ทำป้าย จัดฉากเวที ออกแบบ ฉลุลาย วาดรูป ทำพวงมาลา ทำกระทง และบาง ครั้งก็ต้องทำซุ้มรับเสด็จ
ทุกครั้งที่ครูแสนมีงานพิเศษอย่างที่ว่า ถวัลย์จะ เข้ามาช่วยเป็นลูกมือได้อย่างดีและคล่องแคล่วด้วยท่า ทางบอกให้รู้ว่ามีความสุขกับการทำงานศิลปะทุกอย่าง
หลังจากถวัลย์เรียนจบชั้นมัธยมต้น ถ้าเป็น มีผลการเรียนดีอย่างถวัลย์ก็จะมุ่งเข้าไปต่อเตรียมอุดม เพื่อมองไกลไปถึงอนาคต จะได้เป็นนายแพทย์ หรือวิศวกร
ทว่า ถวัลย์ไม่สนใจ สนใจอยากจะเป็นช่างวาด รูปอย่างเดียว
สำหรับเรื่องนี้ ถวัลย์เคยเปิดเผยให้ข้าพเจ้าฟัง เองว่า
“ความรู้สึกตั้งแต่เด็กมาจนถึงเดี๋ยวนี้ ไม่เคย เปลี่ยน อยากเป็นช่างวาดรูป ตายไปแล้วเกิดใหม่ ก็จะเป็นช่างวาดรูป ไม่ต้องการอย่างอื่น อยากเป็นแค่ ช่างวาดรูป”
ถวัลย์จึงสอบชิงทุนของกระทรวงศึกษาไปเรียน ต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ขณะที่มีอายุแค่ ๑๔ ปีเท่านั้น ปกติคนที่เรียนจบ ม. ๖ หรือ ม.ศ. ๓ ในสมัย นั้นจะมีอายุโดยเฉลี่ย ๑๖ ปี
ตอนที่ถวัลย์จะไปเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพฯ พ่อไม่อยากให้ลูกเรียนต่อ พูดกับลูกว่า
“ไม่ต้องไปเรียนก็ได้ วิ่งเล่นอยู่แถวบ้านเรานี้ แหละ โตแล้วพ่อจะฝากงานให้ทำ”
แต่ถวัลย์ไม่เชื่อพ่อเพราะอยากเรียนต่อ จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มุ่งตรงเข้าเรียนเพาะช่างตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งเป้าไว้ด้วยตนเอง
ก่อนเดินทาง ครูคนหนึ่งบอกถวัลย์ว่า
“โรงเรียนเพาะช่างเหมาะกับเธอ แล้วโรงเรียน เราก็ไม่มีคนสอนวาดเขียนเลย เธอไปเรียนเถอะ แล้วกลับมาเป็นครูสอนวาดเขียน”
ถวัลย์ฟังครูไปอย่างนั้นเอง เพราะในใจลึกๆ เขาต้องการที่มากกว่าการเป็นครู
ถวัลย์ได้เห็นกรุงเทพฯ จริงๆ สดๆ ก็ตอนที่ได้ เข้าเรียนเพาะช่าง ก่อนหน้านี้เคยเห็นแต่รูปที่ครูเอาให้ ดู ซึ่งดูเห็นชัดเพราะถวัลย์ชอบนั่งหน้าชั้น
กรุงเทพฯของถวัลย์ในขณะนั้นก็คือ อนุสาวรีย์ ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วัดเบญจมบพิตร พระบรมมหาราชวัง ซึ่งได้เห็นจากภาพ
“ทุกอย่างสวยงามไปหมด” ถวัลย์คิด ถึงแม้เชียงรายกับกรุงเทพฯเมื่อ ๕๐ กว่าปีมาแล้ว ไกลแสนไกล แต่ถวัลย์ก็ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพียงลำพัง
เหมือนเด็กน้อยเดินทางสู่โลกกว้าง ถวัลย์นั่งรถขนข้าวสารจากเชียงรายมาถึงลำปาง โดยใช้เวลานั่งทรมานอยู่บนรถนานถึง ๑๐ ชั่วโมง
จากนั้นต้องนั่งรถไฟจากลำปางเวลา ๖ โมงเย็นถึงกรุงเทพฯ ๕ โมงเช้าของอีกวัน รถไฟใช้เวลาแล่น อย่างสบายๆ ตามอารมณ์ของรถไฟถึง ๑๒ ชั่วโมง
รวมเวลาเดินทางเฉพาะที่นั่งอยู่บนรถจาก เชียงรายถึงกรุงเทพฯ ต้องใช้เวลาตั้ง ๒๗ ชั่วโมงเต็ม
ถวัลย์เล่าว่า พอรถไฟแล่นมาถึงกรุงเทพฯ รถไฟผ่านยมราช จึงได้เห็นสลัมเป็นครั้งแรกในชีวิต เพราะที่เชียงรายไม่มีสลัม
ทำให้ถวัลย์อดคิดไม่ได้ว่า คนกรุงเทพฯ เขา อยู่กันอย่างนี้หรือ ไม่เหมือนบ้านของตัวที่เชียงราย ที่ มีบริเวณกว้าง มีที่ให้วิ่งเล่น มีที่ว่างพอที่จะพุ่งแหลน และเตะฟุตบอลได้สบายๆ
ตอนรถไฟแล่นผ่านคลองแห่งหนึ่ง เห็นคนลงไป ร่อนหาสมบัติอยู่ในน้ำดำสนิท ทำให้การรู้จักกรุงเทพฯ ครั้งแรกไม่สดใสเลย
ข้างทางรถไฟที่เห็น พบว่าบนถนนมีรถติดกัน เป็นพืด อันนี้เชียงรายก็ไม่มี
ที่เชียงรายยามเช้าจะได้ยินเสียงผ้าซิ่นส่ายเวลา เดินไปตลาด แล้วยังได้ยินเสียงล้อเกวียนบดถนน
ที่เชียงรายได้ยินเสียงคนพึมพำที่ตลาดยามเช้า เหมือนเสียงสวดมนต์ ได้เห็นกิริยาของประกายไฟ วอมแวมเวลาพระอาทิตย์กำลังจะฉายแสงขึ้นมา แล้ว ทุกคนเบิกบานทักทาย
ทว่าที่กรุงเทพฯ ทุกคนได้แต่คิดถึงเรื่องตัวเอง แข่งกันขึ้นรถเมล์และรถรางขวักไขว่
ถวัลย์เผยใจตอนที่เห็นกรุงเทพฯครั้งแรกดังข้าง ต้น พร้อมกับถอนใจบอกทำนองว่า
เหมือนต้องหล่นมาจากสวรรค์ (เชียงราย) แล้วจะต้องมาทนอยู่ในเมืองนรก (กรุงเทพฯ)
ถวัลย์เล่าถึงตัวเองต่อว่า
ถึงกรุงเทพฯ แล้วแต่ไปกระทรวงศึกษาธิการไม่ ถูก ต้องถามแม่ชีซึ่งเดินผ่านมาพอดี
ที่ต้องไปกระทรวงฯ ก็เพราะต้องไปรายงานตัว ก่อนเข้าเรียนที่เพาะช่าง
ถวัลย์หอบสัมภาระพะรุงพะรังแบบคนบ้าน นอกเข้ากรุง
ถวัลย์บอกกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯว่ายังไม่ มีที่พัก ทางกระทรวงบอกว่าให้ช่วยเหลือตัวเอง เพราะ โรงเรียนเพาะช่างไม่มีที่ให้พัก ถ้าอยู่บ้านสมเด็จฯ มีหอ พักให้ ทุกแห่งมีให้หมด ยกเว้นเพาะช่าง
จากนั้น ถวัลย์จะไปโรงเรียนเพาะช่างก็ไปไม่ถูก อีกเพราะกรุงเทพฯ กว้างเหลือเกิน ต้องถามทาง แล้ว ใช้รถเมล์กับรถรางเป็นพาหนะเช่นเคย
พอถวัลย์เจอโรงเรียนเพาะช่าง พบว่า โรงเรียน ยังไม่เปิด
นอกจากถวัลย์เข้าไปรายงานตัวกับโรงเรียน เพาะช่างไม่ได้แล้ว ยังไม่รู้ว่าจะพักที่ไหนด้วย จึงถือ โอกาสนอนที่ซอกตึกที่กำลังก่อสร้างใหม่คืนนั้น
ก่อนแอบเข้าไปนอนที่ซอกตึกสร้างใหม่ ถวัลย์ ได้ดูทางหนีทีไล่ไว้แล้ว ว่าตรงที่จะเข้าไปนอน มอง จากภายนอกเข้าไปไม่เห็น
ถวัลย์เล่าว่า ที่ต้องเริ่มต้นจากอาศัยซอกตึกนอน ไม่ใช่ไม่มีเงินเช่าหอพัก มีเงินเป็นฟ่อน สาเหตุใหญ่มา จากไม่เคยมากรุงเทพฯ จึงไม่รู้ว่าจะไปเริ่มต้นที่ไหน ควร ไปนอนที่ไหน
“ขอนอนแม่งตรงตึกนี้แหละ” ถวัลย์ว่า กรุงเทพฯ เมืองยุง ยุงจึงเข้าเล่นงานถวัลย์ทั้ง คืน แต่ก็ทนได้
เมื่อนอนตรงซอกตึกวันแรกได้จึงนอนต่อแบบ ร่อนเร่พเนจร จากซอกตึกหนึ่งไปยังอีกซอกตึกหนึ่ง
ไม่น่าเชื่อว่าหลบนอนอยู่ตามซอกตึกได้นานถึง ๓ ปีเต็ม ทำได้อย่างไรก็ไม่รู้
ตลอด ๓ ปีเต็ม มีแต่มุ้งเล็กๆ มัดติดกับเอวไว้ หมอนไม่ใช้ ใช้เกี๊ยะหนุนนอน
เวลามีครูมาตรวจตึก ถวัลย์มักจะรู้ล่วงหน้า ว่าเป็นวันไหน หรือรู้กะทันหันแต่ก็สามารถตลบมุ้งได้ อย่างรวดเร็ว แล้วเอามุ่งมัดเอวไว้ ครูจึงไม่รู้
“ทำไมไม่ไปอยู่วัด” บางคนสงสัยถาม ถวัลย์ปฏิเสธที่จะเข้าไปเป็นเด็กวัดหรืออยู่วัดใด โดยให้เหตุผลว่า
“ผมเคยไปวัด แต่ไม่ชอบใจ เป็นคนที่ไม่ติด อยู่กับหมู่คณะ ไม่ชอบตามพระไปบิณฑบาตไม่ชอบ กินอาหารร่วมกับผู้อื่น”
ถวัลย์ เมื่อปฏิเสธการไปอยู่วัดและเช่าหอพัก เขาจึงใช้วิชานินจา หลบอยู่ในโรงเรียนเพาะช่าง แม้ ใต้โต๊ะปิงปองก็ยังเคยแอบเข้าไปนอน
อีกตอนหนึ่ง ถวัลย์เล่าว่า
“พอโรงเรียนเลิก ผมก็จะออกจากโรงเรียนไปอยู่ กับเพื่อนๆ ที่วัดโพธิ์ ค่ำๆ จะกลับมา ปืนรั้วแล้วมอง หาที่อยู่ตามซอกตึกอันถาวรของผม”
มีคนสงสัย ถามถวัลย์ว่าหลบอยู่ตามซอกตึก เพาะช่างได้อย่างไรโดยไม่ถูกภารโรงจับโยนออกมา ถวัลย์หัวเราะตอบว่า
“ผมเคยล่าสัตว์ในป่า สามารถพรางตัวเข้ากับ สิ่งแวดล้อมยังไงก็ได้ วิชาพรางตัวผมทำได้ยอด นินจา ต้องเรียกผมว่าพี่เลย ฝีเท้าผมจะเบาอย่างกับเดินบนปีก ของแมลงปอ จะซ่อนตัวในที่ที่คนไม่รู้...
ตอนอายุ ๑๒-๑๓ นอนอยู่ในป่าสามารถแนบ หูฟังเสียงต่างๆ ได้หมด ผมฝึกสัญชาตญาณอยู่เสมอ เพราะอยู่ใกล้ธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเวลามาอยู่ กรุงเทพฯ ผมจึงพร้อมสะพรั่งไปด้วยเรื่องเหล่านี้ รู้วิธี พรางตัว แป๊บเดียวผมเก็บปุ๊บ แว้บหาย ไม่มีใครรู้”
การหลบตัวอยู่ในเพาะช่างจะต้องกินต้องขี้ต้อง อาบน้ำ
สำหรับเรื่องนี้ ถวัลย์อธิบายให้ฟังว่า
“เวลาอาบน้ำ ผมจะอาบน้ำที่สระน้ำหน้าเสาธง พอมืดสนิทแล้วก็คลานลงมาอาบน้ำ ผมสามารถขี้ใส่ กระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วห่อพับเป็นรูปต่างๆ งดงาม
ขว้างไปตามทิศต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ตอนเช้าตื่นให้ก่อนพระอาทิตย์ลบแสงดาว
ไปเอาน้ำแถวก๊อกน้ำล้างหน้าล้างตา แล้วไปหาซื้ข้าวกิน "
ฟังถวัลย์เล่าถึงชีวิตตอนนี้แล้วต่างถอนใจไป ตามๆ กัน ทว่าตัวถวัลย์กลับคิดว่าไม่ได้ลำบากอะไร เลย แล้วยังแอบชื่นชมตัวเองด้วยที่สามารถพาตัวร่อนเร่อยู่ในป่าคอนกรีตได้
“ที่บ้านรู้หรือเปล่า” เป็นคำถามจากคน สัมภาษณ์
“ผมเขียนจดหมายไปบอก ทางบ้านแต่เรื่องดีๆ อะไรที่ต่อสู้ ก็เก็บของผมไว้”
อีกตอนหนึ่ง ถวัลย์บอกให้ รู้ว่า เหตุที่ต้องอาศัยซอกตึกเพาะ ช่างอยู่นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเงิน
ถูกแล้ว ถวัลย์มีเงินใช้ เพราะนอกจากเป็นนักเรียนทุนแล้ว ยังเป็นคนมีฝีมือในทางวาดรูป เวลา ครูรับงานก็จะใช้ให้ถวัลย์ไปเขียนรูป ก็ได้เงิน พอได้เงินมา ถวัลย์จะนำ เงินไปซื้อหนังสือดีๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษอ่าน เก็บซ่อนไว้ตามซอกตึก
ถวัลย์วิจารณ์โรงเรียนเพาะ ช่างสมัยที่เขาเป็นนักเรียนให้ฟังว่า
“ทั้งๆ ที่โรงเรียนเพาะช่างมี อาจารย์ดีๆ แต่ชอบเอาหุ่นมาให้ วาด และไม่ได้บอกว่าเป็นหุ่นของ ใคร
ตอนเรียนไม่รู้ว่าจะเป็นไทยหรือเป็นอะไรกันแน่ อาจารย์ญี่ปุ่นมาสอน”
อย่างไรก็ตาม อาจารย์เฉลิมได้แนะนำสิ่งที่ดีๆให้ ไว้ว่า
“ไม่ต้องยึดศิลปินดังๆ ของโลก ให้ฉีกมาเป็น ของของตัวเอง”
ขณะเรียน ถวัลย์มีฝีมือเขียนรูปดี จึงได้แสดง ผลงานกับรุ่นพี่ปี ๔ และปี ๕
โรงเรียนเพาะช่างไม่มีห้องสมุด หนังสือประวัติศาสตร์ไม่มีให้อ่าน ทำให้ต้องดิ้นรนหาซื้อหนังสืออ่าน เอง การเรียนส่วนใหญ่ จะให้ทำโน่นทำนี่หลายอย่าง มาก เช่นทำเครื่องหนัง เปลือกไข่ เครื่องไม้ และ เรียนวิชาครู งานที่จะได้เขียนรูปแทบไม่มี
ขณะถวัลย์เรียนอยู่เพาะช่าง เขาจะใช้เวลาว่าง ไปศึกษาเรียนรู้นอกโรงเรียน เช่นที่ห้องสมุดบริติชเคาน์ ซิลซึ่งตั้งอยู่ที่ตีนสะพานพุทธยอดฟ้า และไปที่ห้องสมุด ฝรั่งเศสและเยอรมันด้วย
เรียนอยู่เพาะช่างแค่ ๓ ปี ถวัลย์สามารถพูดภาษา ต่างประเทศได้ทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมัน นับเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ถวัลย์ทำได้ เพราะเขา ไม่ได้เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างที่ว่า แต่เป็นมนุษย์ต่างดาว ถวัลย์ไม่ได้ดูถูกโรงเรียนเพาะช่าง แต่ขณะเรียน ที่เพาะช่าง เขาคิดไกลไปถึงมหาวิทยาลัยศิลปากรและ ต่างประเทศ
ถูกแล้ว ถวัลย์จะไม่ยอมหยุดอยู่กับที่ จะต้อง ไปให้ไกลที่สุดที่จะไกลได้ เพื่อจะได้เป็นช่างวาดรูป ตาม เป้าหมายในชีวิต
ก่อนจบชีวิตการเรียนจากโรงเรียนเพาะช่างของ ถวัลย์ ดัชนี บังเอิญข้าพเจ้าได้รับข้อมูลเพิ่มมาว่า ตอนที่ถวัลย์จัดนิทรรศการไตรสูรย์เมื่ออายุครบ ๖๕ - ปีนั้น มีผู้สนใจถามถึงอดีตช่วงระยะเวลาที่ถวัลย์หลบ ซ่อนตัวพักอยู่ในโรงเรียนเพาะช่างด้วยความสงสัยว่า
ถวัลย์เข้าไปอยู่ได้อย่างไร ภารโรงเขาไม่มาไล่หรือ ถวัลย์ตอบว่า
“ไม่ไล่ ผมก็ฝากเนื้อฝากตัว ข้าวของก็ฝากบ้าน ภารโรง ผมทำตัวชนิดว่านินจาต้องอาย ขนาดมีคนมา ตรวจผมแอบอยู่ใต้โต๊ะ ยังไม่มีคนเห็นเลย เวลาอาบ น้ำหน้าเสาธงเท้าเปียก เวลาเดินเห็นรอยตีนเรา แต่ว่า ผมเหยียบรอยตีนผม เดินถอยหลังกลับ
อาจารย์จิตร บัวบุศย์ บอกว่า แกตามล่าผม ๓ ปี ไม่เคยเจอเลย เมื่อไม่นานมานี้ถามผมที่อเมริกา ว่าผมไปแอบอยู่ที่ตรงไหน ผมก็บอกว่า วันนั้นอาจารย์ จำได้ไหม ที่ตามรอยเท้าผม แล้วผมก็หายไปใต้โต๊ะ ปิงปอง ผมก็อยู่ตรงนั้นแหละ เพียงแต่ว่าผมซุกตัวลง ไปเอายางในรถจักรยานบังไว้ แล้วผมก็เอาตัวสอดเข้า ไปด้วยใจระทึก ผมอยากถามว่าอาจารย์มาจับผมทำไม จริงๆ แล้วอาจารย์น่าจะเห็นใจว่าเราไม่มีหอพัก แล้ว ผมมาจากเชียงรายอายุเพียง ๑๔ ปี แล้วผมจะไปที่ ไหน ผมไม่ได้ทำความเดือดร้อน ไม่ได้ขี้ตามถนน หรือเปิดไฟโรงเรียนใช้ ตาผมจึงชินกับความมืด ผมเหมือนนกเค้าแมว ผมเคยอยู่กับที่มืดมาก่อน ผมจะกำหนดรู้เลยว่า ก้าวกี่ก้าว แล้วผมจะเลี้ยว ผมจำ มุมได้”
นับเป็นเรื่องประหลาดมากที่ครั้งหนึ่ง ถวัลย์ ดัชนี เคยอาศัยอยู่ตามซอกตึกสมัยเรียนหนังสือ เมื่อ มาถึงวันนี้สามารถมีบ้านของตัวเองทั้งที่ตั้งอยู่เมืองไทย และต่างประเทศถึง ๔๐ กว่าหลัง
สารคดีประวัติชีวิตและผลงาน
ถวัลย์ ดัชนี
โดย ไมตรี ลิมปิชาติ
IMCT News
© Copyright 2020, All Rights Reserved