ขอบคุณภาพจาก RT
8/8/2024
กูเกิ้ลเพย์ , PhonePe ที่วอลมาร์ทหนุนอยู่ และอเมซอนเพย์ อยู่ในกลุ่มห้าบริษัทชำระเงินออนไลน์ที่อยากจะเข้าร่วมโครงการสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางอินเดีย ระบบการจ่ายเงินแบบแฟรนไชส์ ที่จะทำงานร่วมกับอินเดียนี้ คือการนำเสนอการชำระเงินผ่าน e-rupee
ธนาคารกลางอินเดียเริ่มนำร่อง e-rupee ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2022 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการจ่ายเงินในแบบดิจิทัล แทนที่เงินสดรูปี ส่วนครั้งนี้ จะถือเป็นรูปแบบการจ่ายเงินแบบดิจิทัลครั้งแรก ที่ดึงความสนใจจากบริษัทเกรดเอได้ โดยเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอินเดีย
เดิมที ธนาคารกลางอินเดียอนุญาตให้มีแค่ธนาคารเท่านั้น ที่เสนอการให้บริการ e-rupee ผ่านแอปมือถือของธนาคาร แต่เมื่อเดือนเมษายน ธนาคารกลางอินเดียระบุว่า บริษัทที่รับบริการชำระเงิน ออนไลน์ สามารถใช้ e-rupee ได้ ผ่านแพลทฟอร์มของพวกเขาเอง ทันทีที่ธนาคารกลางอินเดียอนุมัติ
e-rupee เคยมีกระแสตอบรับที่ดีในช่วงแรก แต่ยังยากที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนับจากปี 2023 เพราะการใช้งานลดลงอย่างมาก ธนาคารกลางอินเดียจึงเตรียมอนุญาตให้แอปชำระเงินยอดนิยมอย่าง กูเกิ้ลเพย์ และอเมซอนเพย์ โอนเงินโดยใช้ e-rupee ได้
แม้ว่า การชำระเงินผ่าน e-rupee จะมีเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2023 ทะลุ 1 ล้านครั้งต่อวัน แต่ตอนนี้ กลับมีจำนวนการใช้งานตกวันละ 1 แสน ถึง 2 แสนครั้งต่อวันเท่านั้น ธนาคารกลางอินเดียจึงหวังว่า การบูรณาการ e-rupee เข้ากับแอปจ่ายเงินชั้นนำ จะช่วยดันให้มีผู้ใช้งานได้มากขึ้น และยอมรับ e-rupee เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง หรือที่เรียกว่า CBDC แต่ธนาคารกลางอินเดียยังไม่มีแผนจะเปิดใช้งานสกุลเงินดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในเร็ววันนี้ ทางการอินเดียบอกว่า มีแนวโน้มจะทำเช่นนี้ไปก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี ก่อนจะนำมาใช้เต็มรูปแบบ
กูเกิ้ล กับอเมซอน เป็นสองบริษัทให้ชำระเงินแบบเรียลไทม์ ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในอินเดีย โดยเปิดให้โอนข้ามบัญชีธนาคารหลายบัญชีได้ ดังนั้น ถ้ากูเกิ้ลกับอเมซอน มาเข้าร่วมนวัตกรรมสกุลเงินดิจิทัลกับอินเดีย ก็จะถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญ แหล่งข่าวระบุว่า สองบริษัทนี้ คาดว่า จะเปิดให้เข้าใช้ e-rupee ได้ ในอีกสามถึงสี่เดือนข้างหน้า
ปัจจุบัน การนำเอาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางมาใช้ ยังเผชิญความท้าทายอย่างมากในหลายประเทศ หลายสกุลเงินยังอยู่ในขั้นวิจัย เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการนำออกใช้
เช่น จีน ที่อนุญาตให้มีการชำระเงินบางประเภทเท่านั้น ผ่านดิจิทัลหยวนได้ เพื่อความสะดวก ส่วนไต้หวัน ก็เร่งเปิดตัว CBDC ของตนเอง และมีแผนจะทดสอบรุ่นต้นแบบ รวันดา ประเทศในแอฟริกา มีแผนจะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลในอีกสองปีข้างหน้า
CBDC จะทำให้การชำระเงินข้ามแดน มีต้นทุนที่ถูกลง และเข้าถึงได้มากขึ้น ดันให้หลายประเทศเร่งศึกษาเพื่อหาทางใช้ประโยชน์จาก CBDC ให้คุ้มค่า
By IMCT News
อ้างอิงจาก https://www.coinspeaker.com/e-rupee-pilot-google-pay-amazon-pay/
https://watcher.guru/news/brics-crypto-project-has-google-and-amazon-wanting-to-join