Thailand
“การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก” ผ่านการเข้าร่วมและผลักดันการจัดทำกรอบความร่วมมือ เช่น OECD / BRICS / PCA เพื่อรักษาจุดเด่น “การไม่เลือกข้าง” และ “การเข้ากับทุกขั้วอำนาจได้อย่างสมดุล”
13/09/2024
นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา ว่าจะใช้ “การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก” เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มบทบาทของไทย ให้ไทยมีความเด่นชัดในเวทีโลก ต่อยอดจุดแข็งของไทย คือ การที่ไทยไม่มีศัตรู มีมิตรมาก และไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง สร้างสมดุลในการดำเนินความสัมพันธ์กับมิตรประเทศในบริบทการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอำนาจ ผ่านการเข้าร่วมและผลักดันการจัดทำกรอบความร่วมมือ เช่น OECD / BRICS / PCA เพื่อรักษาจุดเด่น “การไม่เลือกข้าง” และ “การเข้ากับทุกขั้วอำนาจได้อย่างสมดุล”
“การไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างประเทศ” หรือการไม่เลือกข้าง จะทำให้ไทยสามารถเป็นผู้เชื่อม/ผู้ประสานความสมดุล (bridge builder/balancer) ระหว่างกลุ่มประเทศต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับไทยด้านการดึงดูดการลงทุน รวมถึงรูปแบบ Friendshoring และ Reshoring อีกตัวอย่างสำคัญคือกรณี การช่วยเหลือตัวประกันคนไทยที่ได้ประสบความสำเร็จ เป็นต้น ซึ่งการที่เราสามารถคุยได้กับทุกฝ่าย
ทั้งนี้รัฐบาลยังให้ความสำคัญมากกับอาเซียนและการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศไทย โดยเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกรอบความร่วมมือในภูมิภาค ตั้งแต่ ASEAN ACD ACMECS รวมถึง BIMSTEC ในการแก้ไขปัญหาและการรับมือกับความท้าทายร่วมกัน ทั้งอาชญากรรมข้ามชาติ (online scam/ ยาเสพติด/ ค้ามนุษย์) ปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน
IMCTNEWS
© Copyright 2020, All Rights Reserved