Thailand
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia
31.10.2024
ออสเตรเลียจะเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันขีปนาวุธ หลังจากที่จีนทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ในแปซิฟิกใต้ ทำให้เกิด “ความกังวลอย่างยิ่ง” และในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเข้าสู่ “ยุคแห่งขีปนาวุธ”
รัฐมนตรีอุตสาหกรรมทหารของออสเตรเลียกล่าวว่า ออสเตรเลียมีแผนที่จะขยายขีดความสามารถในการป้องกันขีปนาวุธและการโจมตีระยะไกล และจะร่วมมือกับพันธมิตรด้านความมั่นคงอย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในประเด็นด้านเสถียรภาพในภูมิภาค เพราะการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่อาจกระทบความมั่นคงของออสเตรเลีย” เป็นการแข่งขันที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก”
ภูมิภาคนี้กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุคใหม่ด้านขีปนาวุธ ขีปนาวุธยังเป็น “เครื่องมือที่ใช้บีบบังคับ” อีกด้วย โดยชี้ให้เห็นถึงการทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีปของจีนในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งพุ่งไกลกว่า 11,000 กิโลเมตร และตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งตามสนธิสัญญา Rarotongaได้ระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวควรเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์”
ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มการใช้จ่ายด้านการทหารมากขึ้น
และจะติดตั้งขีปนาวุธ SM-6 บนกองเรือพิฆาตของกองทัพเรือเพื่อป้องกันขีปนาวุธข้ามทวีปด้วย
ในเดือนเมษายน ออสเตรเลียได้เปิดเผยกลยุทธ์การทหารที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่ศัตรูจะขัดขวางการค้า หรือขัดขวางการเข้าถึงเส้นทางการบินและทางทะเลที่สำคัญ นอกจากการพัฒนากองเรือผิวน้ำอย่างรวดเร็วแล้ว ออสเตรเลียยังมีแผนจะติดตั้งเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ล่องหนได้ในข้อตกลงสามฝ่ายกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่เรียกว่า AUKUS ด้วย
เมื่อต้นเดือนนี้ ออสเตรเลียได้ประกาศข้อตกลงมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.5 แสนล้านบาท) กับสหรัฐฯเพื่อซื้อขีปนาวุธพิสัยไกล SM-2 IIIC และ Raytheon SM-6 สำหรับกองทัพเรือของประเทศ
ก่อนหน้านี้ ออสเตรเลียเคยกล่าวว่าจะใช้เงิน 7.4 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.6 ล้านล้านบาท) สำหรับการจัดหาขีปนาวุธและการป้องกันขีปนาวุธในช่วงทศวรรษหน้า ซึ่งรวมถึงเงิน 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (4.6 แสนล้านบาท) เพื่อจัดหาเงินทุนให้กับ Australian Guided Weapons and Explosive Ordnance Enterprise ซึ่งเป็นโรงงานผลิตในประเทศแห่งใหม่ด้วย
ออสเตรเลียจะใช้เงินอีก 316 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (6,980 ล้านบาท) เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตระบบจรวดนำวิถีหลายลำกล้อง (GMLRS) ในประเทศ โดยร่วมมือกับบริษัทล็อกฮีด มาร์ตินของสหรัฐฯ เพื่อผลิตอาวุธแบบยิงจากฐานสู่พื้นดิน (surface-to-surface) ซึ่งติดตั้งได้อย่างรวดเร็วเพื่อการส่งออก ตั้งแต่ปี 2029 เป็นต้นไป โรงงานแห่งนี้จะมีความสามารถในการผลิต GMLRS ได้ 4,000 ชิ้นต่อปี หรือหนึ่งในสี่ของปริมาณการผลิตทั่วโลกในปัจจุบัน
By IMCT NEWS
© Copyright 2020, All Rights Reserved