Thailand
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ : สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๑๐
สภาพสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๑๐ มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อทางเหตุผลนิยม โดยมีโลกทัศน์โน้มนำไปในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่าในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ยังคงรักษาโลกทัศน์แบบเดิมไว้ควบคู่กันไปด้วย คือ พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเช่นเดิม แม้มีบางช่วงเวลาที่จัดเพียงพระราชพิธีพืชมงคลก็ตาม แต่ก็ยังรักษาพระราชพิธีนี้ไว้ เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงาม และขวัญกำลังใจของชนในชาติ
พระมหากษัตริย์ทรงนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกแบบใหม่เข้ามาใช้ ในการเกษตรกรรมด้วยการทำให้ราษฎรอยู่ดีกินดี เป็นพระราชกรณียกิจที่ พระมหากษัตริย์ทรงให้ความสำคัญอย่างมาก ดังเช่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพัฒนาการเกษตรในด้านต่าง ๆ ควบคู่กับการประกอบ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้แก่ การชลประทาน การส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาข้าว เป็นต้น
นอกจากนี้ในช่วงรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๑๐ นี้ มีการจัดการประกวดพันธุ์ข้าว เพื่อให้ประชาชนเอาใจใส่ในการพัฒนาพันธุ์ข้าว อีกทั้งชนชั้นนำมีความสนใจองค์ความรู้ในด้านการเกษตร เริ่มจากองค์ความรู้เรื่องทำนาที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงพระนิพนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นถึงความคิดของชนชั้นนำได้ชัดเจนในเรื่องการนำองค์ความรู้มาใช้ในการเกษตรกรรม องค์ความรู้เหล่านี้ก็ได้ถ่ายทอดสู่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตราธิการพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการแนะนำและชี้แจงเรื่องเพาะปลูก เรื่องเลี้ยงไหม ทำไหม และเรื่องทอผ้าสำหรับแจกประชาชน และการจัดแสดงนิทรรศการทางการเกษตร เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๕ – รัชกาลที่ ๑๐ นั้น ข้าวเป็นสินค้าที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจตลอดมา เกือบจะเป็นสินค้าหลัก ในการส่งขายต่างประเทศ และเป็นอาหารหลักในประเทศ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ในช่วงเวลานี้จึงทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาข้าวในด้านต่าง ๆ ทั้งกระบวนการ เพาะปลูก การผลิต และสายพันธุ์ เห็นได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงทำนาทดลองอย่างที่พระองค์เคยทอดพระเนตรในต่างประเทศ เมื่อครั้ง เสด็จประพาสยุโรปครั้งหลัง พ.ศ. ๒๕๕๐ อีกทั้งโปรดให้จังหวัดรายงานสถิติน้ำฝน จัดประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรกที่ธัญบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ และนำเครื่องจักรไถนา มาทดลองเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นถึงความเอาพระราชหฤทัยใส่เป็นอย่างมาก ที่จะทรงพัฒนาการทำนาของไทยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ ในรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๖ ทรงให้ความสำคัญ กับพันธุ์ข้าว ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญที่สุดของประเทศ โดยการปรับปรุงและขยายงาน ประกวดให้กว้างขวางออกไปกว่าแต่ก่อน คือ
ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวต่าง ๆ จากทุกมณฑลมาแสดง นอกจากนี้ยังมีการแสดงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกสิกรรม และหัตถกรรม เป็นต้น
ข้อมูล : หนังสือพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ : การเปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน, กรมศิลปากร, ๒๕๖๕
#พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
#วันพืชมงคล
#สืบสานรักษาต่อยอด
นำข้อม๔ลมาจาก : เพจสืบสาน รักษา ต่อยอด
© Copyright 2020, All Rights Reserved