Thailand
5/3/2024
ในการประชุมBRICS Forum Summitที่รัสเซียจะเป็นเจ้า ภาพจัดที่เมืองคาซานในเดือนตุลาคมปีนี้ ประธานาธิบดีว ราดิเมียร์ ปูตินจะผลักดันความร่วมมือในการสร้างเงินสกุล ร่วมของBRICS
เงินสกุลร่วม (common currency)คือการที่มีอย่างน้อย สองประเทศขึ้นไปตกลงที่จะใช้เงินตราเดียวกัน
นายเซอร์เก กลาซเยฟ (Sergey Glazyev) นัก เศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียน และที่ปรึกษาของปูตินได้ให้ สัมภาษณ์กับTV BRICSเมื่อปลายปีที่ผ่านมาว่า การสร้างเงิน สกุลร่วมBRICSจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญที่สุดของการ ประชุมซัมมิท โดยเน้นว่าเงินสกุลร่วมBRICS ที่มีคุณสมบัติ เฉพาะตัวเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่คอยการ สนับสนุนจากผู้นำทั้งหมดของBRICS
นายกลาซเยฟกล่าวว่า มีหลายประเทศสมาชิกของBRICSได้ ให้การสนับสนุนเงินสกุลร่วม เพื่อที่จะลดอิทธิของเงินดอลล่า ร์สหรัฐ
“เราต้องการเพียงเจตจำนงทางการเมืองเท่านั้น เพราะในทาง เทคนิคแล้วสกุลเงินนี้เกือบจะพร้อมแล้ว ซอฟต์แวร์และเครื่อง มือทางคณิตศาสตร์ได้ถูกสร้างขึ้นมารองรับแล้ว” เขากล่าว
“ในการเปิดตัวสกุลเงินนี้ เราต้องได้รับความยินยอมทางการ เมืองจากประเทศ BRICS ซึ่งสามประเทศได้แสดงการ สนับสนุนแล้วสำหรับแนวคิดในการแนะนำสกุลเงินใหม่ผ่าน ทางประมุขแห่งรัฐของพวกเขา เรากำลังรอดูท่าทีจากจีนและ อินเดีย”
คาดว่า ปูตินในฐานะประธานของBRICSในปีนี้จะพยายาม โน้มน้าวผู้นำของสมาชิกBRICSทุกคนให้ลงนามข้อตกลง ความร่วมมือในการสร้างเงินสกุลร่วม แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจน ว่าเงินสกุลร่วมจะสามารถสร้างเสร็จ หรือใช้งานได้เมื่อใด
ในปี 2022 ปูตินเปิดประเด็นการสร้างเงินสกุล ร่วมBRICSเป็นคร้ังแรก โดยบอกว่าประเทศสมาชิกกำลัง ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเงินสกุลหลักของโลกใหม่
ปูตินกล่าวต่อไปว่า ประเด็นการสร้างเงินรีเสิร์ฟระหว่าง ประเทศ โดยอิงตระกร้าเงินของประเทศสมาชิกกำลังอยู่ใน ขั้นตอนดำเนินการ นอกจากนี้BRICSกำลังพัฒนาระบบชำระ เงินเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระเงินสกุลร่วมBRICSจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการสร้างวาระการเงินโลกใหม่ ที่มีเป้าหมายต้องการลดบทบาทของเงิน ดอลล่าร์สหรัฐ และจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญของเงินดอลล่าร์สหรัฐ
ในปัจจุบันสมาชิกของBRICSประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ อิหร่าน ซาอุดิ อาราเบีย ยูเออี อิยิปต์ และเอธิโอเปีย
ในปีที่แล้ว แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพการประชุมBRICSซัมมิท แต่ปรากฎว่าเรื่องการสร้างเงินสกุลร่วมไม่ได้มีการพูดคุยกัน อย่างจริงๆจังๆ การขยายการรับสมาชิกใหม่กลายเป็น ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยมีการตกลงรับเอาอิหร่าน ซาอุดิ อาราเบีย ยูเออี อิยิปต์ และอาร์เจนติน่าเข้าร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2024 รวมท้ังการเน้นให้ กลุ่มBRICSใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายกันเองมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินสกุลหลักของโลก ในเวลานี้
อาร์เจนติน่ามีการเลือกตั้งและได้ผู้นำคนใหม่คือนายฆาบิเอร์ มิลเลอิ ที่ต้องการดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกับโลกตะวันตก นา ยมิลเลอิตัดสินใจไม่ให้อาร์เจนติน่าเข้าร่วมเป็นสมาชิก ของBRICS
โดยรวมแล้ว ประเทศในกลุ่ม BRICS ได้แสดงการสนับสนุน สกุลเงินเดียวกันในระดับที่แตกต่างกัน โดยมีผู้นำในรัสเซีย และบราซิลอยู่เบื้องหลังแนวคิดนี้อย่างมั่นคง แอฟริกาใต้เป็น ประเทศที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมมากที่สุด โดยแสดงความ ต้องการแนวทางที่ระมัดระวังในขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึง ความสำคัญของเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อินเดียคัดค้านเงินสกุลร่วม เพราะว่าต้องการพัฒนาศักยภาพของเงินรูปี มากกว่า
ในเวทีBRICS ซัมมิทที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพในปีที่แล้ว ประธานาธิบดีลูลา ดา ซิลวาของบราซิลกล่าวว่า เขา สนับสนุนโครงการสกุลเงินร่วมของ BRICS ที่ไม่มีเป้าหมาย มาแทนที่สกุลเงินประจำชาติ “ผมสนับสนุนสกุลเงินร่วม ของBRICS ที่จะไม่แทนที่สกุลเงินประจำชาติของเรา” เขา กล่าว
นอกจากเรื่องเงินสกุลร่วมแล้ว ในปีนี้BRICSจะยังคงเดินหน้า ขยายการรับสมาชิกใหม่ต่อไป เพื่อยกฐานะของBRICSให้ เป็นองค์กรระดับโลกที่แท้จริง รวมท้ังให้สมาชิกBRICSเพิ่ม การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกันเพื่อลดต้นทุน และลดการพึ่งพาเงินดอลล่าร์สหรัฐ
สื่อRTรายงานว่า นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟได้ให้ข่าวว่ามีอย่าง น้อย30ประเทศที่ต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของBRICS รวมท้ังประเทศไทยด้วย
เขากล่าวว่าประเทศที่แสดงความปรารถนาที่จะเป็นสมาชิก ของBRICS รวมถึงเวเนซุเอลา ไทย เวเนกัล คิวบา คาซัค สถาน เบลารุส บาห์เรน และปากีสถาน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ยื่นใบ สมัครเข้าร่วมอย่างเป็นทางการแล้ว ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น ซีเรีย ตุรกี นิการากัว อินโดนีเซีย และซิมบับเว ต่างก็แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มนี้เช่นกัน แต่ยังไม่ได้ยื่นใบสมัคร เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ
เมื่อพิจารณาจากความสนใจที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติตาม BRICS นายลาฟรอฟกล่าวว่ากลุ่มนี้มี "อนาคตที่ดีรออยู่ข้าง หน้า" นอกจากนี้เขายังให้คำมั่นอีกว่ารัสเซียซึ่งเข้ารับ ตำแหน่งประธานกลุ่ม BRICS แบบหมุนเวียนในวันที่ 1 มกราคม จะช่วยให้แน่ใจว่าสมาชิกใหม่ “มีความเหมาะสม กับงานร่วมกันของเราอย่างเป็นระบบ และมีส่วนในการเสริม สร้างแนวโน้มเชิงบวกไม่เพียงแต่ภายในกลุ่ม BRICS เท่านั้น แต่ยังรวมถึงในเวทีระหว่างประเทศใน ผลประโยชน์ ของคนส่วนใหญ่ในโลก”
จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปัจจุบัน BRICS คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 36% ของ GDP โลกในแง่ ของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ซึ่งแซงหน้ากลุ่ม G7 ของประเทศตะวันตก
By Thanong Khanthong, Editor
© Copyright 2020, All Rights Reserved