Thailand
ขอบคุณภาพจาก RT
18/7/2024
กลุ่ม G7 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1975 เป็นการรวมตัวของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกเจ็ดชาติ คือ สหรัฐ แคนาดา อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เน้นร่วมมือกันด้านนโยบายเศรษฐกิจและส่งเสริมเสถียรภาพโลก ในช่วงแรกของการรวมกลุ่มกัน สมาชิกกลุ่ม G7 ล้วนแต่เป็นประเทศชั้นนำด้านเศรษฐกิจในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยังมีมุมมองทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่สอดคล้องกัน
แต่เมื่อวันเวลาผันผ่านไป อิทธิพลทางเศรษฐกิจของกลุ่ม G7 ก็ลดลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ พร้อมกับการผงาดขึ้นมาของประเทศอื่นๆ ในหลายภาคส่วนของโลก โดยเฉพาะกลุ่มที่รวมตัวกันในนาม G20
G20 เป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อรวมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มาไว้ด้วยกัน หวังส่งเสริมความร่วมมือในระดับสากล ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่ม G20 แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G7 ก็คือ จีน อินเดีย บราซิล และซาอุดิอาระเบีย
จากข้อมูลตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2022 ซึ่งรวบรวมมาจากธนาคารโลก พบว่า กลุ่ม G7 ครองสัดส่วนจีดีพีโลกลดลงต่อเนื่อง จากปี 1990 ที่ครองสัดส่วนอยู่ที่ 66% ของจีดีพีโลก แล้วนับจากปี 2010 เป็นต้นมา กลุ่ม G7 ก็ครองสัดส่วนจีดีพีโลกเหลือไม่ถึงครึ่งมาจนบัดนี้ โดยในปี 2022 กลุ่ม G7 มีจีดีพีรวมกันคิดเป็น 44% ของจีดีพีโลก
ส่วนกลุ่ม G20 สัดส่วนจีดีพีโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่า ยังคงรักษาระดับเดิมอยู่ได้ คือ ประมาณ 80% สาเหตุเกิดจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่ยังประคองสัดส่วนจีดีพีของกลุ่ม G20 ไว้ได้
ตัวเลขเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า ถ้ากลุ่ม G7 ยังคงครองสัดส่วนจีดีพีโลกน้อยลงต่อเนื่องในแบบนี้ ต่อไปกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลต่อโลกน้อยลงด้วย ในด้านการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจโลกและมาตรฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ ความสัมพันธ์ทางการค้าก็ถูกปรับเปลี่ยน และกลายเป็นประเทศอื่นที่มีความโดดเด่นทางเศรษฐกิจแทน ตลอดจนการลงทุนต่างๆของโลก ที่จะพุ่งตรงไปหากลุ่มประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วกว่ากลุ่ม G7
By IMCT News
อ้างอิงจาก https://www.zerohedge.com/geopolitical/visualizing-g7s-declining-share-global-gdp
© Copyright 2020, All Rights Reserved