การลดอัตราเอกเบี้ยจีนอาจช่วยเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก
ขอบคุณภาพจาก CGTN
15.10.2024
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจของจีนเริ่มมีมากขึ้น โดยธนาคารกลางของจีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างๆ ลดข้อกำหนดการสำรองเงินสดของธนาคาร และเสนอสภาพคล่องเพิ่มเติมสำหรับตลาดหุ้น ทั้งยังส่งสัญญาณว่าจะบรรเทาภาระหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาด้วย
แต่รัฐบาลยังไม่ได้เปิดเผยแผนงานที่ชัดเจนสำหรับมาตรการทางการเงินขนาดใหญ่ที่จะทำให้ผู้บริโภคมีเงินมากขึ้นเพื่อฟื้นความต้องการ การบรรยายสรุปของกระทรวงการคลังจีนยังสร้างความผิดหวังให้กับนักเศรษฐศาสตร์อีกครั้ง เพราะเพียงแค่พูดหยอกเย้าว่า ยังเหลือช่องว่างอีกมากที่รัฐจะจับจ่ายเพิ่มเติม และจะประกาศแนวทางอื่นต่อไป
หลังจากฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนแตกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคเริ่มลังเลที่จะใช้จ่ายและเริ่มมีสัญญาณของภาวะเงินฝืด แต่เนื่องจากจีนไม่ชอบนโยบายแบบรัฐสวัสดิการ จึงทำให้ยังลังเลที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคโดยตรงในปริมาณมาก
แทนที่จะปล่อยเงินออกมาจำนวนมหาศาลเหมือนที่สหรัฐฯ ทำในรูปเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงที่เกิดโรคระบาด แต่จีนกลับพึ่งพากลยุทธ์เก่าแก่หลายสิบปีที่เน้นการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากกว่าอย่างอื่น และกระตุ้นให้เกิดการผลิตในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ
หากรัฐไม่ได้ช่วยเหลือในฝั่งผู้บริโภคเพิ่มเติม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของจีนอาจทำให้เศรษฐกิจแย่ลงได้จริง เนื่องจากทำให้ปัญหาเงินฝืดรุนแรงขึ้น เหตุผลสำคัญประการหนึ่งก็คือการเติบโตของจีนยังคงพึ่งพาการผลิตและการลงทุนมากกว่าการบริโภค ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐฯ ดังนั้น แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจทำให้ชาวอเมริกันกู้ยืมเงินมากขึ้นเพื่อซื้อรถยนต์หรือสินค้าราคาแพงอื่นๆ แต่ในจีนกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่าระบบการเงินของจีนนั้นมุ่งเน้นไปที่ด้านการผลิตเป็นหลัก สินเชื่อจะถูกปล่อยไปยังภาคธุรกิจโดยตรง รัฐวิสาหกิจ รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลาง เพื่อนำไปสร้างโครงสร้างพื้นบาน อสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิต และเมื่อเงินที่หนุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากในบริษัทต่างๆ สินค้าที่ออกมามาก ก็บีบให้ต้องแข่งขันกันอย่างรุนแรงในด้านราคา ในขณะที่ครัวเรือนของจีน กลับมีรายได้เติบโตอย่างช้าๆ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทำให้พวกเขาลังเลที่จะใช้จ่าย ส่วนในด้านการผลิต บรรดาผู้ผลิตในจีนต้องยิ่งแข่งกันดุเดือด เพราะครัวเรือนในจีนมีรายได้ซบเซา
ด้านนักวิชาการด้านจีนจากสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้เตือนเกี่ยวกับกำลังการผลิตที่มากเกินไปของภาคอุตสาหกรรมจีน จีนกำลังผลิตสินค้ามากเกินกว่าที่ตนเองหรือตลาดต่างประเทศจะสามารถรับได้อย่างยั่งยืน” “ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจจีนจึงเสี่ยงที่จะติดอยู่ในวังวนแห่งความหายนะของราคาที่ตกต่ำเพราะแข่งกันตัดราคา การล้มละลาย การปิดโรงงาน และท้ายที่สุดคือการสูญเสียตำแหน่งงาน”
เมื่อต้องตัดราคาแข่งกัน ผลกำไรสินค้าแต่ละชิ้นก็ลดลง บริษัทต่างๆ จึงต้องผลิตให้มากขึ้น หวังกดทุนสินค้าให้ต่ำลง จะได้ขายในราคาถูกลง เพื่อให้ได้เงินสดหมุนเวียนเพียงพอต่อการชำระหนี้ รัฐบาลจีนยังให้ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าทุน เพื่อหวังบรรลุเป้าทางการเมืองอีกด้วย
แต่การทำเช่นนี้ จะทำให้ตลาดโลกไม่มั่นคง เนื่องจากสินค้าส่งออกราคาถูกของจีนหลั่งไหลเข้ามา ส่งผลให้เกิดการตอบโต้อย่างรุนแรงในรูปแบบของภาษีศุลกากรที่เข้มงวด นอกจากนี้ ตลาดในจีนยังผลิตมากเกินไป ก่อให้เกิดการแข่งกันตัดราคา เสี่ยงที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด และแม้ว่าอีคอมเมิร์ซในจีนคึกคัก ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมาย แต่ในความเป็นจริง แพลตฟอร์มหลักๆ เช่น Alibaba, Pinduoduo และ Shein กลับแข่งกันอย่างดุเดือดในการจำหน่ายสินค้าประเภทเดียวกัน”
By IMCT NEWS
อ้างอิงจาก: https://finance.yahoo.com/news/china-rate-cuts-may-actually-190352985.html