Trump 2.0 ไม่ว่าฉากทัศน์ไหน ไทยก็เหนื่อย
2-12-2024
สองเดือนต่อจากนี้ไป ประเทศไทยคงต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้นและต้องเรียนรู้ฉากทัศน์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งอาจจะจำแนกออกได้เป็นสองทาง นั่นคือ
ฉากทัศน์ที่ 1: สงครามการค้า 3.0 และ
ฉากทัศน์ที่ 2: สหรัฐฯ-จีนแบ่งปันผลประโยชน์ลงตัว
แต่ไม่ว่าฉากทัศน์ไหน ประเทศไทยก็เหนื่อย! ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ชวนอ่านบทวิเคราะห์ฉากทัศน์ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน ในยุค Trump 2.0 กับผลกระทบต่อไทย
โดย ปิติ ศรีแสงนาม
หากสงครามทางการทหารไม่ขยายวงลุกลามออกนอกประเทศยูเครนหลังจากพฤติกรรมยั่วยุล่าสุดที่เกิดขึ้นจากการที่ประธานาธิบดี Joe Biden อนุญาตให้ยูเครนเปลี่ยนยุทธวิธีจากการตั้งรับเป็นการใช้ขีปนาวุธเชิงรุก สองเดือนต่อจากนี้ไป ประเทศไทยคงต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้นและต้องเรียนรู้ฉากทัศน์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งอาจจะจำแนกออกได้เป็นสองทาง นั่นคือ ฉากทัศน์ที่ 1: สงครามการค้า 3.0 และ ฉากทัศน์ที่ 2: สหรัฐฯ-จีนแบ่งปันผลประโยชน์ลงตัว
ฉากทัศน์ที่ 1: สงครามการค้า 3.0
สงครามการค้าที่เริ่มต้นในปี 2018 ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Donald Trump ถือเป็นสงครามการค้าระลอกแรก หรือ ‘สงครามการค้า 1.0’ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนมกราคม 2021 อย่างไรก็ตามหลังจากนั้น สงครามการค้ายังคงดำเนินต่อไปและรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำในสมัยประธานาธิบดี Biden ซึ่งนั่นก็คงนับได้ว่าเป็น ‘สงครามการค้า 2.0’ ที่จะดำเนินต่อไปจนถึงมกราคม 2025 ก่อนที่ Trump จะกลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง
ดังนั้นในการวิเคราะห์ฉากทัศน์สงครามการค้า 3.0 ผู้เขียนจะสร้างภาพการวิเคราะห์ไปในรูปแบบที่ Trump ได้หาเสียงเอาไว้ตลอดปี 2024 นั่นคือ
สงครามการค้า 3.0 กับผลกระทบต่อไทย
แน่นอนว่าตลอด 7 ปี ในช่วงสองสมัยของทั้งประธานาธิบดี Trump และ Biden ที่ผ่านมา สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้เกิดปรากฏการณ์การเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) เพราะบริษัทจีนไม่สามารถค้าขายโดยตรงกับสหรัฐฯ ได้ เช่นเดียวกับที่บริษัทสหรัฐฯ เองก็ถูกกีดกันทางการค้าจากจีน นั่นทำให้พวกเขาต้องเดินทางออกมาลงทุนในประเทศที่สาม โดยเฉพาะประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานและมีสิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจ (ecosystem) ที่เหมาะสม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางสหรัฐฯ และจีน เงินลงทุนจำนวนมากเหล่านั้นไหลเข้ามาในประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะในเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ประเทศอาเซียนเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์จากปรากฏการณ์ Trade Creation ทำให้อาเซียนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ราว 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเวียดนามเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ราว 1.05 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วยประเทศไทยที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ราว 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้นในฉากทัศน์ที่ 1 สงครามการค้า 3.0 สิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญหน้าคือ
ฉากทัศน์ที่ 2: สหรัฐฯ-จีนแบ่งปันผลประโยชน์ลงตัว
การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะต้องอย่าลืมว่าในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ประธานาธิบดี Richard Nixon ก็เคยบินไปจับมือกับประธาน Mao Zedong มาแล้วตั้งแต่ที่สหรัฐฯ และสาธารณรัฐประชาชนจีนยังไม่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งที่ก่อนหน้านั้นต่างฝ่ายต่างก็มองว่าอีกฝ่ายหนึ่งคือปีศาจร้ายที่มีอุดมการณ์ขัดแย้งกัน หรือในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ประธานาธิบดี Ronald Reagan เองก็เคยไปจับมือกับประธานาธิบดี Mikhail Gorbachev แห่งสหภาพโซเวียตที่เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงภายใต้สถานการณ์สงครามเย็นมาแล้วเช่นกัน และต้องอย่าลืมว่าทั้ง Nixon และ Reagan ต่างก็เป็นผู้นำพรรค Republican ด้วยกันทั้งคู่ เช่นเดียวกับ Trump ดังนั้นหาก Trump กับ Xi Jinping จะจับมือและตกลงกันได้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
ในฉากทัศน์นี้ หากผู้นำจีนและพรรคคอมมิวนิสต์จีนสั่งการให้ภาคเอกชนจีน (ซึ่งต้องไม่ลืมว่า 92.4% ของบริษัทเอกชนจีนที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัท เลือกที่จะตั้งคณะกรรมการบริษัทเป็นสาขาพรรคคอมมิวนิสต์จีน และมีผู้บริหารระดับสูงเป็นสมาชิกพรรค) ทำการดังต่อไปนี้
1) ขายสินค้าราคาถูกที่สุดให้สหรัฐฯ
2) นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงาน (สอดคล้องกับนโยบาย Drill, Baby, Drill ของ Trump)
3) ออกไปลงทุนเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ เพื่อจ้างงานคนอเมริกัน
4) ให้จีนถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สหรัฐฯ ห่วงกังวลให้สหรัฐฯ โดยเฉพาะเทคโนโลยีโทรคมนาคมหลังยุค 5G, เทคโนโลยีควอนตัม, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ และ
5) ยอมเป็นหมายเลขสองรองจากสหรัฐฯ ที่ขอเป็นมหาอำนาจเชิงเดี่ยวต่อไป ดีลแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นเพื่อแลกกับการที่ Trump ส่งสัญญาณไปที่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ (ซึ่งขณะนี้ Republican ที่เสียงข้างมากทั้ง 2 สภา) ให้ยกเลิก Taiwan Relations Act
สิ่งที่สหรัฐฯ ได้จากดีลนี้คือ
1) ได้สินค้าจีนเพื่อลดค่าครองชีพให้คนอเมริกัน และนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้คนอเมริกันเปลี่ยนใจจาก Biden-Harris มาเลือก Trump ในสมัยที่ 2
2) สหรัฐฯ ได้เพิ่มการจ้างงานให้คนอเมริกัน จากการมาลงทุนของบริษัทจีนในสหรัฐฯ
3) หาก Trump จะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านการลดดอกเบี้ย-เพิ่มปริมาณเงิน สินค้าราคาถูกจากจีนจะมาช่วยลดผลกระทบจากเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นได้จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
4) ทำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนจากขาดดุลมหาศาลกับจีน มาเป็นขาดดุลลดลง หรือบางทีอาจจะเกินดุลการค้ากับจีนได้ด้วยซ้ำ หากจีนยอมซื้อพลังงาน และสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
5) ลดภาระมหาศาลในการปกป้องคุ้มครองไต้หวัน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามโดยตรง และ
6) สหรัฐฯ ยังคงได้สถานะมหาอำนาจหมายเลข 1 ต่อไป
ส่วนสิ่งที่ฝ่ายจีนจะได้แน่นอนคืออำนาจอธิปไตยเหนือไต้หวันซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนา และได้ผ่อนคลายจากปัญหาสงครามการค้า-สงครามเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ
แต่ไม่ว่าฉากทัศน์ไหน ไทยก็เหนื่อย
สำหรับฉากทัศน์ที่ 2 หากสหรัฐฯ-จีนแบ่งปันผลประโยชน์ลงตัว นั่นหมายความว่า
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นฉากทัศน์ไหนก็ตาม สิ่งที่ประเทศไทยต้องคิดและต้องเตรียมการก็คือ เราจะสามารถรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของเราได้อย่างไร เราจะดำเนินนโยบายการต่างประเทศของไทยอย่างไร ทั้งในมิติเศรษฐกิจและมิติความมั่นคง นี่คือคำถามที่ประเทศไทยต้องเร่งหาคำตอบ
ที่มา https://www.the101.world/trump-2-scenarios-for-thailand/