.

เยี่ยมชมโมเดลการแก้ปัญหาความยากจนที่มณฑลกุ้ยโจว
14-7-2025
กุ้ยโจวเป็นหนึ่งในมณฑลที่ยากจนที่สุดของจีน แต่ด้วยการโมเดลการแก้ไขปัญหาความยากจนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และพรรคคอมมิวติสต์จีน ชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านในมณฑลนี้จึงดีขึ้นอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ความจริงการแก้ปัญหาความยากจนของจีนเป็นหนึ่งในความสำเร็จของผู้นำจีนที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อไล่ให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป โดยที่ไม่ทอดทิ้งประชาชนที่อยู่ระดับล่าง
ถ้าจะว่าไปแล้ว ประเทศจีนประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นในการลดความยากจนในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยสามารถยกระดับชีวิตของผู้คนหลายร้อยล้านคนให้พ้นจากความยากจน ความสำเร็จนี้เกิดจากปัจจัยหลายประการร่วมกัน ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โครงการบรรเทาความยากจนที่มุ่งเป้าอย่างมีประสิทธิภาพ และการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บ่ายวันหนึ่งของวัน กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะของเราเดินทางจากเมืองกุ้ยหย่าง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกุ้ยโจวไปยังหมู่บ้าน หมู่บ้านหลงเปา เมืองเกาเฟิง เขตใหม่กุ้ยอัน โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมง เพื่อเยี่ยมชมและพูดคุยกับชาวบ้านว่าฐานะการเป็นอยู่ของพวกเขามีการเปลี่ยนแปลงหรือดีขึ้นอย่างไรจากโมเดลการแก้ไขปัญหาความยากจนของประธานาธิบดีสี และพรรคคอมมิวนิสต์จีนหัวหน้าหมู่บ้าน ชื่อว่า刘兴坤 หลิว ซิงคุน และลูกบ้านอีกสี่ห้าคนได้มาต้อนรับเราอย่างกันเองที่สำนักงานของหมู่บ้าน แม้ว่าหลิวจะพูดภาษาจีนกลางได้ไม่ชัด สะท้อนข้อจำกัดทางการศึกษา แต่เขามีท่าทางที่คล่องแคล่ว และสามารถอธิบายโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี
โครงการพัฒนาหมู่บ้านหลิว ซิงคุนนี้เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาผ่านการทำเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คุณหลิวเล่าให้ฟังว่า เดิมทีชาวนามีรายได้เฉลี่ยเพียง 8,000 หยวนต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการ รายได้ของพวกเขาเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็นเกือบ15,000หยวนต่อปีในช่วงเวลาไม่กี่ปี นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและส่งผลดีต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างมากที่มีชีวิตเหมือนกับตัดขาดจากโลกภายนอก คนหนุ่มคนสาวต่างก็หนีเข้าไปในเมืองเพื่อที่จะหางานทำที่มีรายได้ดีกว่า คล้ายกับเมืองไทยบ้านเราหรือประเทศอื่นๆที่มีแรงกดดันให้คนชนบทย้ายไปอยู่ในเมืองเพื่อขายแรงงาน
คุณหลิวเล่าต่อไปว่า โมเดลของการแก้ปัญหาความยากจนมีการบูรณาการหลายภาคส่วน เริ่มจากการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรเข้ามาฝึกอบรมชาวบ้านเกี่ยวกับการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมดิน การเลือกพันธุ์ข้าว การดูแลรักษา การป้องกันศัตรูพืชแบบธรรมชาติ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ปราศจากสารเคมี และเป็นที่ต้องการของตลาด นอกจากนี้รัฐบาลยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยจัดสรรเงินเดือนให้กับชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในช่วงเริ่มต้น และยังสนับสนุนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น เช่น เครื่องสีข้าว เครื่องอบแห้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น การติดตั้งระบบน้ำประปาที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงระบบการจัดการขยะที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เมื่อผลิตผลทางการเกษตรผลิตออกมาแล้ว ได้คุณภาพ หรือผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้นทำให้สามารถขายสินค้าได้ในราคา และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐคอยตรวจสอบดูทุกกระบวนการเพื่อให้ได้ตามจุดประสงค์
ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือการจัดตั้งบริษัทก่อสร้างภายในหมู่บ้าน ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนแล้ว กำไรที่ได้ยังถูกแบ่งปันให้กับชาวบ้านทุกคนอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว คณะกรรมการหมู่บ้านมีการทำบัญชี โดยมีผู้ตรวจสอบทางการเงินเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการรั่วไหล การใช้เงินผ่านระบบอีเลคโทรนิกส์ของจีนช่วยให้สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ง่าย และสามารถป้องกันการคอรัปชั่นได้ทุกระดับ เพราะว่าทุกวันนี้คนจีนใช้เงินกระดาษน้อยมาก ส่วนมากจะใช้จ่ายผ่านการสแกนด้วยมือถือ
คณะเรานั่งรถจากสำนักงานของหมู่บ้านไปดูพื้นที่เพาะปลูกข้าว เห็นท้องนาที่กว้างไกล และระบบชลประทานที่น้ำเข้าถึงพื้นที่เพาะปลูก ปรากฎว่าบ่ายวันนั้นอากาศเย็นสบายมาก เหมือนอากาศบนภูเขาบ้านเรา ความจริงมณฑลกุ้วโจวเป็นหนึ่งในมลฑลที่มีอากาศดีที่สุดในประเทศจีน อุณหภุมิอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ25องศาท้ังปี เหมาะสำหรับการท่องเทียว แต่ว่าอุตสาหกรรมการท้องเที่ยวของมณฑลนี้ยังไม่ได้พัฒนาเมื่อเทียบกับมณฑลใกช้เคียงเช่นยูนนาน ที่มีสภาพเศรษฐกิจที่ดีกว่ามาก คุณภาพข้าวที่นี้ถือว่าดีใช้ได้ แต่ยังห่างไกลจากคุณภาพของข้าวหอมมะลิของบ้านเรา เมื่อพูดถึงข้าวหอมมะลิ คนจีนที่นี้รู้จักกันดีทุกคน เพราะว่ามีวางขายไปทั่วร้านสะดวกซื้อ
ในอนาคต หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ โดยใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพที่สวยงาม วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดว่าจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
เมื่อไม่นานมาแล้ว ประธานาธิบดีสีได้เดินทางมายังมณฑฃกุ้ยโจวเพื่อวางแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนผ่านโมเดลการเกษตรที่คนของภาครัฐเข้ามาดูแลเหมือนพี่เลี้ยงกับชาวบ้านในรูปแบบบูรณษการ สื่อจีนรายงานว่าระหว่างวันที่ 17 ถึง 18 มีนาคมที่ผ่านมา เลขาธิการ สีจิ้นผิง ได้ชี้ให้เห็นระหว่างการตรวจเยี่ยมหมุ่บ้านหลงเปาในกุ้ยโจวว่า จำเป็นต้องพัฒนาการเกษตรประสิทธิภาพสูงแบบภูเขาสมัยใหม่ตามสภาพท้องถิ่น และเพาะปลูกอุตสาหกรรมชั้นนำที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่ยั่งยืน จำเป็นต้องปรับปรุงกลไกการเชื่อมโยงผลประโยชน์และส่งเสริมการเพิ่มรายได้และความมั่งคั่งของประชาชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม
นับตั้งแต่มีการสร้างพื้นที่สาธิตความรับผิดชอบที่นำโดยผู้นำพรรคและรัฐบาลในปี 2022 กลุ่ม "เกษตรกรใหม่" และ "เกษตรกรเก่า" ได้สำรวจและฝึกฝนทั้งกลางวันและกลางคืนบนผืนดินของหมู่บ้านหลงเปา เมืองเกาเฟิง เขตใหม่กุ้ยอัน มีการตอบคำถามสี่ข้ออย่างจริงจังว่า "จะปลูกอะไร ปลูกใคร ปลูกอย่างไร และปลูกอย่างไรดี" และสำรวจเส้นทาง "ข้าว" เพื่อส่งเสริมการเพิ่มรายได้และความมั่งคั่งของประชาชน
หลังจากฝึกฝนมากว่าสามปี "เกษตรกรใหม่" และ "เกษตรกรเก่า" ได้สรุปโมเดล "การปลูกข้าวหลงเปา" นั่นคือ บนพื้นฐานของ "การแยกสิทธิสามประการ" ปฏิบัติตามกฎหมายที่มุ่งเน้นตลาด โดยนำการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและการเพาะปลูกนิติบุคคลธุรกิจใหม่เป็นจุดเริ่มต้น สร้างกลไกการเชื่อมโยงผลประโยชน์ใหม่ระหว่างบริษัทชั้นนำ เศรษฐกิจส่วนรวมของหมู่บ้าน นิติบุคคลธุรกิจใหม่ และเกษตรกร และส่งเสริมการปลูกข้าวในระดับปานกลาง
ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ผลผลิตธัญพืชของหมู่บ้านหลงเปาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลผลิตเฉลี่ยต่อเอเคอร์ที่ 530 กิโลกรัมในปี 2021 เป็นผลผลิตเฉลี่ยต่อเอเคอร์ที่ 610.24 กิโลกรัมในปี 2022 จากนั้นเป็นผลผลิตเฉลี่ยต่อเอเคอร์มากกว่า 652 กิโลกรัมในปี 2023 และ 2024 รายได้ของชาวบ้านและกลุ่มหมู่บ้านยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องมาจากเส้นทาง "ข้าว" ใหม่แห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กล่าวโดยภาพรวมแล้ว จีนภายใต้การเป็นผู้จำของสี จิ้นผิงประสบความสำเร็จมากในการแก้ปัญหาความยากจนแบบเฉพาะเจาะจง แม้ว่าจะไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ โดยจุดเริ่มต้นในปี2013 สี จิ้นผิงเสนอแนวคิด "การขจัดความยากจนแบบเจาะจง" ครั้งแรกในมณฑลหูหนาน โดยเปลี่ยนจากนโยบายช่วยเหลือแบบกว้าง ๆ ไปสู่การมุ่งเน้นครัวเรือนและบุคคลที่ยากจนอย่างเฉพาะเจาะจง นโยบายนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปี 2014 และรวมอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี (2016–2020) โดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องเก็บข้อมูลครัวเรือนยากจนเพื่อออกแบบความช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น เงินอุดหนุน การสร้างงาน หรือการย้ายถิ่นฐาน
เป้าหมายคือการให้ประชาชนมีปัจจัยสี่ที่เพียงพอ และมีการเข้าถึงการศีกษาและการรักษาพยาบาล มีการส่งเจ้าหน้าที่และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กว่า 3 ล้านคนลงพื้นที่ชนบทเพื่อทำงานโดยตรงกับครัวเรือนยากจน ติดตามความคืบหน้า และใช้ระบบลงทะเบียนแห่งชาติเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ นอกจากนี้ รัฐบาลลงทุนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ระบบน้ำ และไฟฟ้าในชนบท เพื่อเพิ่มการเข้าถึงตลาดและยกระดับคุณภาพชีวิ และมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น การเกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตในท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชน โครงการแก้ไขความยากจนนี้ไม่เพียงแต่ดำเนินการโดยรัฐบาล แต่ยังรวมถึงรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดความร่วมมือทั่วทั้งสังคม
การขจัดความยากจนของสีสร้างต่อยอดจากความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1978 ภายใต้เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งช่วยลดความยากจนขั้นรุนแรงของประชากรไปกว่า 800 ล้านคน การใช้กลยุทธ์การขจัดความยากจนแบบเจาะจง (TPA)ของสี ด้วยการระดมทรัพยากรจำนวนมากและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อยกประชาชนในชนบทหลายร้อยล้านคนถือเป็นความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ที่ช่วยลดความยากจนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ความท้าทาย เช่น ความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำ และเกณฑ์ความยากจนที่ต่ำ ทำให้ต้องมีการพัฒนาต่อไปในด้านการศึกษา สุขภาพ และการกระจายรายได้ต่อไป
IMCT News