ชาติสมาชิก EU เรียกร้องเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย
ขอบคุณภาพจาก tass.com
1-2-2025
นายกรัฐมนตรีวิกเตอร์ ออร์บาน ผู้นำฮังการี เรียกร้องให้สหภาพยุโรปยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซียอีกครั้ง เพื่อปรับนโยบายของสหภาพยุโรปให้สอดคล้องกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ หลังบูดาเปสต์วิพากษ์วิจารณ์แนวทางของบรัสเซลส์ต่อความขัดแย้งในยูเครนมาเป็นเวลานานว่า ไม่สามารถยุติการสู้รบและสร้างความเสียหายต่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (27 ม.ค.) สหภาพยุโรปได้ขยายการคว่ำบาตรที่มีอยู่ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม (2025) โดยฮังการียังคงระงับการขัดขวางมาตรการดังกล่าวแม้ฮังการีจะประกาศคัดค้าน
ขณะเดียวกัน ออร์บานก็ระบุว่า บูดาเปสต์ต้องพิจารณาจุดยืนของสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มเศรษฐกิจที่สนับสนุนข้อจำกัดที่กำหนดขึ้นกับรัสเซียเพื่อตอบสนองต่อความรุนแรงของความขัดแย้งในยูเครนในปี 2022
"ผลประโยชน์ของฮังการีนั้นชัดเจน: เราสูญเสียเงินไป 19,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสามปี" ออร์บานเน้นย้ำ พร้อมเสริมว่าพฤติกรรมของเคียฟกลายเป็น "ไร้ยางอาย" มากขึ้นเมื่อไม่นานนี้ โดยอ้างถึงการปฏิเสธของยูเครนเมื่อปีที่แล้ว (2024) ที่จะขยายสัญญาที่ให้การจัดหาก๊าซธรรมชาติของรัสเซียแก่ผู้บริโภคในยุโรป รวมถึงฮังการีด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีฮังการีก็ยังอธิบายว่า บูดาเปสต์ได้รับการรับรองว่าเรื่องนี้จะได้รับการแก้ไข ซึ่งส่งผลให้บูดาเปสต์ตัดสินใจไม่ขัดขวางการคว่ำบาตรเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) เนื่องจากเคียฟต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยสิ้นเชิง
"เราเพียงแค่ต้องยืนหยัดและพูดว่า เพื่อนชาวยูเครนที่รัก เราเข้าใจทุกอย่าง แต่เราต้องการสิ่งนี้ ปล่อยให้ก๊าซของรัสเซียผ่านไป" ออร์บานกล่าว
ผู้นำฮังการีเปรียบเทียบแนวทางของสหภาพยุโรปกับแนวทางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง โดยออร์บานระบุว่า วอชิงตันจะใช้นโยบายสันติภาพ ขณะที่บรัสเซลส์เลือกสงคราม
ด้านมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน สหรัฐฯ "ทำให้ผู้คนเชื่อ" ว่ายูเครนสามารถได้รับชัยชนะทางทหารเหนือรัสเซียได้ ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันยาวนาน ซึ่งทำให้การพัฒนาของยูเครนถดถอยไปเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ
อีกด้านหนึ่ง สโลวาเกียซึ่งเป็นผู้บริโภคก๊าซของรัสเซียอีกรายหนึ่ง ยังวิพากษ์วิจารณ์การปิดท่อส่งก๊าซผ่านดินแดนของยูเครน ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (30 ม.ค.) นายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต ฟิโก อ้างว่าการกดดันเคียฟของเขาได้ผล และมองว่ายูเครนกำลังเปลี่ยนจุดยืน
IMCT News
ที่มา https://www.rt.com/news/611967-orban-russia-sanctions-veto/
---------------------------------------------
พลเมืองชาติ NATO เริ่มมองสหรัฐฯ เป็น "ภัยคุกคาม" หลัง 'ทรัมป์' ต้องการผนวกกรีนแลนด์
1-2-2025
YouGov เปิดเผยผลการสำรวจ พบว่าชาวเดนมาร์กที่ตอบแบบสอบถาม มองว่าสหรัฐฯ เป็น "ภัยคุกคาม" ต่อประเทศของตนเกือบครึ่ง โดยผลสำรวจซึ่งเผยแพร่โดย The Guardian เมื่อวานนี้ (31 ม.ค.) ดำเนินการท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างโคเปนเฮเกนและวอชิงตันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับแผนการของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ที่จะยึดครองกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา
จากผลสำรวจดังกล่าว ชาวเดนมาร์ก 46% มองว่าสหรัฐฯ เป็น "ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่" หรือ "ภัยคุกคามที่ค่อนข้างใหญ่" ซึ่งตัวเลขดังกล่าว บ่งชี้ว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ใน NATO และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป กังวลเกี่ยวกับสหรัฐฯ มากกว่าเกาหลีเหนือหรืออิหร่าน ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามถึง 44% และ 40% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม รัสเซียยังคงเป็นประเทศที่ประชาชนเดนมาร์กกังวลมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 86% ระบุว่ารัสเซียเป็นอันตรายต่อประเทศของตน
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม 78% ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการขายกรีนแลนด์ให้กับสหรัฐฯ ขณะที่ 72% ยืนกรานว่าการตัดสินใจเข้าร่วมกับสหรัฐฯ ควรเป็นของชาวเกาะอาร์กติกจำนวน 57,000 คน มากกว่าเดนมาร์ก
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของ YouGov จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 15-22 มกราคม (2025) โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คน
ขณะเดียวกัน การสำรวจความคิดเห็นที่จัดทำโดยบริษัทสำรวจความคิดเห็นของเดนมาร์กชื่อ Verian เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าชาวกรีนแลนด์เพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่ต้องการเข้าร่วมกับสหรัฐฯ ซึ่งขัดแย้งกับผลการศึกษาครั้งก่อนของบริษัท Patriot Polling ของสหรัฐฯ ซึ่งระบุว่าชาวเกาะร้อยละ 57 สนับสนุนให้เข้าร่วมกับสหรัฐฯ
ด้านมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (30 ม.ค.) ว่าความปรารถนาของทรัมป์ในการเข้าซื้อกรีนแลนด์นั้น “ไม่ใช่เรื่องตลก”
“ผมรู้ว่าเป็นหัวข้อที่ละเอียดอ่อนสำหรับเดนมาร์ก แต่ก็เป็นประเด็นที่สหรัฐฯ ให้ความสนใจเช่นกัน”
ขณะที่ภูมิภาคอาร์กติกจะกลายเป็น "สิ่งสำคัญ" สำหรับการเดินเรือในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้วอชิงตันจำเป็นต้องควบคุมกรีนแลนด์เพื่อป้องกันไม่ให้จีนมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ ตามที่รูบิโอกล่าวอ้าง
IMCT News
ที่มา https://www.rt.com/news/611976-denmark-greenland-us-trump/