Thailand
ประธานสภาที่ปรึกษาของทรัมป์เสนอขึ้นภาษีศุลากรสูงสุด 50%
13-1-2025
สตีเฟน มิแรน ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เสนอให้สหรัฐฯ เพิ่มภาษีศุลกากรอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ย 20% โดยบางส่วนอาจสูงถึง 50% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ 2%
Miran แย้งว่าแนวทางกีดกันทางการค้านี้สามารถกระตุ้นอุตสาหกรรมในประเทศและลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศได้ แต่นักวิจารณ์เตือนว่า อาจเพิ่มต้นทุนให้กับผู้บริโภค และจุดชนวนความตึงเครียดทางการค้าทั่วโลก
สิ่งนี้ส่งสัญญาณถึงความตั้งใจของทรัมป์ที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ต่อไป โดยใช้กำแพงภาษีเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองทางการค้ากับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐ เช่นจีนเป็นต้น
ในอดีตภาษีศุลกากรมีบทบาทสำคัญในนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ภาษีศุลกากร่วยสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลกลางและกระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า และช่วยปกป้องอุตสาหกรรมที่ยังตั้งไข่ นอกจากนี้ ภาษีศุลกากรยังมุ่งหวังที่จะลดการขาดดุลการค้าและความกดดันจากการแข่งขันจากต่างประเทศ
แต่การขึ้นภาษีศุลกากรมักจะตามมาด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงจากประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดสงครามการค้า และเศรษฐกิจฝืดเคือง หลังสงครามดลกคร้ังที่สอง สหรัฐเป็นตัวตั้งตัวตีในการส่งเสริมการค้าเสรีผ่านการเจรจาการค้าเสรีในกรอบของGeneral Agreement on Tariffs and Trade ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นองค์การค้าโลก หรือWorld Trade Organization
ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ Dartmouth Douglas Irwin ได้กล่าวเอาไว้ว่า ภาษีศุลกากรมีวัตถุประสงค์หลักสามประการ: "เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล จำกัดการนำเข้าและปกป้องผู้ผลิตในประเทศจากการแข่งขันจากต่างประเทศ และเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าแบบต่างตอบแทนที่ช่วยลดอุปสรรคทางการค้า"
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1790 ถึง 1860 ภาษีศุลกากรเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 60 ก่อนที่จะลดลงอีกครั้งเป็นร้อยละ 20
ตั้งแต่ปี 1861 ถึงปี 1933 ซึ่งเออร์วินระบุว่าเป็น "ระยะเวลาการเข้มงวดทางการค้า" อัตราภาษีศุลกากรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์และยังคงอยู่ที่ระดับนั้นเป็นเวลาหลายทศวรรษ
ตั้งแต่ปี 1934 เป็นต้นมา ซึ่งเออร์วินได้จัดลักษณะเฉพาะว่าเป็น "ช่วงเวลาตอบแทนซึ่งกันและกัน" อัตราภาษีศุลกากรโดยเฉลี่ยลดลงอย่างมากจนกระทั่งลดระดับลงที่ร้อยละ 5
ที่มา Sputnik และWikipedia
© Copyright 2020, All Rights Reserved