ชาติสมาชิก EU “เบื่อหน่าย” ฟอน เดอร์ ไลเยน
ขอบคุณภาพจาก RT
6-2-2025
Politico รายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (5 ก.พ.) ว่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเริ่มไม่พอใจอัวร์ซูลา ฟอน เดอร์ ไลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบฝ่ายเดียวของเธอ โดยคำวิจารณ์ล่าสุดมีขึ้น หลังจากที่ฟอน เดอร์ ไลเยน ประกาศข้อตกลงความร่วมมือกับจอร์แดน
สำหรับข้อตกลงดังกล่าวลงนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ภายหลังการเจรจาระหว่างฟอน เดอร์ ไลเยนกับกษัตริย์อับดุลลาห์ที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือจอร์แดนในการรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากวิกฤตซีเรีย รวมถึงขยายช่องทางการลงทุนและโอกาสทางธุรกิจในประเทศอาหรับ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะเสริมด้วยแหล่งเงินทุน 3,000 ล้านยูโร (3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งประกอบด้วยเงินช่วยเหลือ การลงทุน และความช่วยเหลือทางการเงินในระดับมหภาค
อย่างไรก็ตาม จากแหล่งข่าว 2 รายที่ให้สัมภาษณ์กับ Politico ระบุว่าฟอน เดอร์ ไลเยนตัดสินใจจัดสรรเงินทุนให้กับจอร์แดนโดยไม่ปรึกษาหารือกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
“เราต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่อาจยอมรับได้ในขณะที่เราเป็นผู้จ่ายเงิน” นักการทูตสหภาพยุโรปซึ่งขอไม่เปิดเผยชื่อกล่าว และ “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ฟอน เดอร์ ไลเยนใช้กลอุบายเช่นนี้ เพราะเธอต้องการทำดีกับผู้นำโลก [ประเทศสมาชิก] เริ่มเบื่อหน่ายกับเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ”
ตามรายงาน มีความไม่พอใจอย่างมากเกี่ยวกับกลยุทธ์การแย่งชิงอำนาจของฟอน เดอร์ ไลเยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนโยบายต่างประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สภายุโรปและตัวแทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านกิจการต่างประเทศบริหารจัดการมาโดยตลอด
“ฟอน เดอร์ ไลเยน แย่งชิงอำนาจต่างประเทศ [แม้เพียงเล็กน้อย] ในทุกโอกาส” นาโช ซานเชซ อามอร์ สมาชิกรัฐสภายุโรปกล่าว พร้อมโต้แย้งว่าความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของการตัดสินใจด้านนโยบายต่างประเทศภายในคณะกรรมาธิการยุโรปขัดต่อสนธิสัญญาพื้นฐานของกลุ่ม ซึ่งนโยบายต่างประเทศควรอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจของประเทศสมาชิก
“เราถือเอาโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ว่านโยบายต่างประเทศกำลังโน้มเอียงไปทางคณะกรรมาธิการ และนี่ไม่ใช่กรอบของสนธิสัญญา” เขากล่าว พร้อมเรียกร้องให้มีการอภิปรายอย่างเป็นทางการในประเด็นนี้
สำหรับแนวทางการรวมอำนาจของฟอน เดอร์ ไลเยน มีรายงานว่าเป็นจุดขัดแย้งมาตั้งแต่ดำรงตำแหน่งวาระแรก ส่งผลให้ความสัมพันธ์ตึงเครียดกับชาร์ล มิเชล อดีตประธานสภายุโรป และโจเซป บอร์เรล อดีตนักการทูตระดับสูงของกลุ่ม ก่อนที่ฟอน เดอร์ ไลเยนจะได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว (2024)
นอกจากนี้ก็ยังมีรายงานด้วยว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจำนวนมากไม่พอใจกับการที่เธอเน้นย้ำมากเกินไปในเรื่องสภาพอากาศและเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง รวมทั้งระบบอุปถัมภ์และความไม่โปร่งใสของนโยบายของเธอ จากการที่ฟอน เดอร์ ไลเยนได้เปลี่ยนวาระของเธอตั้งแต่ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนมิถุนายน (2024) โดยเน้นย้ำมากขึ้นในเรื่องความสามารถในการแข่งขันและการป้องกันของกลุ่ม
IMCT News
ที่มา https://www.rt.com/news/612226-von-der-leyen-eu-criticism/